นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มอบหมายให้ นายกิตติ เชาวน์ดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลในวงการกีฬามวย ประจำปี 2565 – 2566 พร้อมด้วย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) โดยมี คณะผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ร่วมพิธี ณ ห้อง แกรนด์บอลรูม โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9
การจัดงาน “ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลในวงการกีฬามวย ประจำปี 2565-2566” ในครั้งนี้ ได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลในวงการกีฬามวยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 – 2566 รวมจำนวน 43 ประเภทรางวัล โดยมีประเภทรางวัลดังนี้
1.บุคคลในวงการกีฬามวยดีเด่น
2. สื่อมวลชนดีเด่น
3. ปูชนียบุคคลกีฬามวยดีเด่น
4. ผู้ทรงคุณค่ากีฬามวยดีเด่น
5. ผู้เผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างประเทศดีเด่น
6. ผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น
โดยมีผู้เข้ารับรางวัลรวมจำนวนทั้งสิ้น 84 รายชื่อ ประกอบด้วย ผู้ที่ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2565 (ครั้งที่11) รวมจำนวน 40 รายชื่อ ได้แก่ นักมวยไทยอาชีพดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายรณชัย แสวงทรัพย์ (รณชัย แป๊ะมีนบุรี (ต.รามอินทรา),นางสาวรุ่งนภา อ้นวิเชียร (รุ่งนภา พ.เมืองเพชร),นักมวยสากลอาชีพดีเด่น (ชาย) ได้แก่ นายปัญญา ประดับศรี (เพชรมณี ศ.จิตพัฒนา (ซีพีเอฟ),นักมวยไทยสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายธเนศ นิตุธร (ธนัญชัย ศิษย์สองพี่น้อง),นางสาวกุลณัฐ อ่อนอก (น้องนุ้ก โรงเรียนกีฬาโคราช),อส.ทพ. บรรจง สินศิริ,สิบตำรวจตรีหญิง ใบสน มณีก้อน (มังกรขาว ผลไม้ปลากัดยิม),นักมวยไทยอาชีพดาวรุ่งดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายทิชากร ศรีพรมมา (ขุนศึกเล็ก ยูฟ่า บูมเด็กเซียน),นางสาวเกษราภรณ์ สงจันทร์ (กิ๊ปเก๋ ส.จารุวรรณ),ไหว้ครูมวยไทยสวยงามดีเด่น หญิง ได้แก่ นางสาวบริมาส แก่นจันทร์ (ชบาแก้ว ส.แก่นจันทร์ชัย (วิสุทธิกษัตริย์),คู่มวยดุเดือดดีเด่น ได้แก่ สุดหล่อ สจ.โต้งปราจีน กับ กล้าผจญ ลูกบ้านใหญ่,หัวหน้าค่ายมวยดีเด่น ได้แก่นายธนพล คชชาสุวรรณ (หัวหน้าค่ายมวยสิงห์มาวิน),ผู้จัดการนักมวยดีเด่น ได้แก่ พลโท ภิญโญ เข็มเพชร,ผู้จัดรายการแข่งขันมวยดีเด่น ได้แก่ นายณัฐเดช วชิรรัตนวงศ์,นายสนามมวยดีเด่น ได้แก่ นายอำนวย เกษบำรุง (นายสนามมวยนานาชาติรังสิต),ผู้ฝึกสอนมวยไทยอาชีพดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายรอฉาด เทพวารินทร์ (สะตอ เกียรติวิเชียร),นายมานพ ยวงใย (อู่ กุญแจ),ผู้ฝึกสอนมวยสากลอาชีพดีเด่น ชาย ได้แก่ นายฉัตรชัย สาสะกุล,ผู้ฝึกสอนมวยไทยสมัครเล่นดีเด่น ชาย ได้แก่ นาวาอากาศเอก บุญส่ง นวลย่อง,ผู้ฝึกสอนมวยสากลสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ จ่าสิบเอก ตะวัน มุ่งพิงกลาง,พันตำรวจโท วิจารณ์ พลฤทธิ์,ผู้ตัดสินมวยไทยอาชีพดีเด่น ชาย ได้แก่ นายธนภัทร เสือแก้ว (กรรมการเวทีมวยสยามอ้อมน้อย),ผู้ตัดสินมวยไทยสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายนพพร อินสีลอย (กะเหรี่ยงทมิฬ (กิ่งซาง ก.ศักดิ์ลำพูน),นางสาวชญานุช ศรีประเสริฐ,ผู้ตัดสินมวยสากลสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายนิพนธ์ งามยิ่งยวด,นางสาววราพร เบ๊ะกี้,สื่อมวลชนดีเด่น ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรี นภดล ศรีทวีกาศ (รองอ๊อด สารคาม) สื่อ SMM PLUS,ปูชนียบุคคลกีฬามวยดีเด่น ได้แก่ นายนิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์,นายสุรชาติ พิสิฐวุฒินันท์,พ.อ.(พิเศษ) วริทธิ์ ปานสุวรรณ,ผู้ทรงคุณค่ากีฬามวยดีเด่น สาขาการอนุรักษ์และเผยแพร่กีฬามวย ได้แก่ นายณรงค์ สุมะโน,นายสมศักดิ์ แสนยากร,รศ.ดร.อนันต์ เมฆสวรรค์,ผู้ทรงคุณค่ากีฬามวยดีเด่น สาขาผู้ทรงคุณูปการต่อวงการกีฬามวย ได้แก่ ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ,ผู้เผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างประเทศดีเด่น ได้แก่ นายธีระพงษ์ จินดาวรณ์ (จ้าวสมุทร เกียรติช่องเขา),ผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น บุคคล ได้แก่ นายนริส สิงห์วังชา,ผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น องค์กรภาครัฐ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.),กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ,กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น องค์กรเอกชน ได้แก่ บริษัท โรงงานฟุตบอลไทยสปอร์ติ้งกู๊ดส์ จำกัด
ผู้ที่ได้รับรางวัลดีเด่น ประจำปี 2566 (ครั้งที่12) รวมจำนวน 44 รายชื่อ ได้แก่
นักมวยไทยอาชีพดีเด่น หญิง ได้แก่ นางสาวโสมรัศมี ไชยสุยะ (โสมรัศมี มานพมวยไทยยิม),
นักมวยไทยสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ สิบเอกทศพล เสาร์พะเนา (เด่นพนม พราน 26),
นางสาวนิราวรรณ ตังจิว (เสน่ห์จันทร์ สจ.โต้งปราจีน),
นักมวยสากลสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ สิบตำรวจโท ธิติสรรค์ ปั้นโหมด,นางสาวจุฑามาศ รักสัตย์,
นักมวยไทยอาชีพดาวรุ่งดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายชัยชนะ แสงเงิน (สองพยัคฆ์ บูมเด็กเซียน),นางสาวบริมาส แก่นจันทร์ (ชบาแก้ว ส.แก่นจันทร์ชัย),
นักมวยเชิงประยุกต์ดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายวสันต์ อิสลาม (เสกสรร อ.ขวัญเมือง),นางสาวนิลดา มีคุณ (เพชรจีจ้า ลูกเจ้าพ่อโรงต้ม),
ไหว้ครูมวยไทยสวยงามดีเด่น ชาย.หญิง ได้แก่ นายแก้วไพฑูรย์ บุญศิริการ (หนึ่งล้านเล็ก จิตรเมืองนนท์),นางสาวกันติยา ปะโนรัมย์ (เพชรกัญญา ส.พวงทอง),
คู่มวยดุเดือดดีเด่น ได้แก่แพรวพราว เพชรพราวฟ้า vs ดินเนื้อทอง หมวดพงษ์ 191,
หัวหน้าค่ายมวยดีเด่น ได้แก่ พันตำรวจโทสุรเชษฐ์ เดชะพันธ์ (ส.เดชะพันธ์),
ผู้จัดการนักมวยดีเด่น ได้แก่ พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ,
ผู้จัดรายการแข่งขันมวยดีเด่น ได้แก่ นายสมหมาย สกุลเมตตา (ประธานกลุ่มพลังใหม่ ค่าย ส.สมหมาย),
นายสนามมวยดีเด่น ได้แก่ พลอากาศโทสมยศ จุลเสน (นายสนามมวยเยาวชนกองทัพอากาศ),
ผู้ฝึกสอนมวยไทยอาชีพดีเด่น หญิง ได้แก่ นางสาวธารทิพย์ ฉิมพาลี,
ผู้ฝึกสอนมวยไทยสมัครเล่นดีเด่น ชาย ได้แก่ นาวาอากาศเอก บุญส่ง นวลย่อง,
ผู้ฝึกสอนมวยสากลสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ ร้อยตรีสุฤทธิ์ ยิ่งกำแหง,พันจ่าอากาศตรีหญิงทัศมาลี ทองจันทร์,
ผู้ตัดสินมวยไทยอาชีพดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายศาสตรา สุภาสัย,พันโทหญิงณิชาพร ปลื้มถนอม,
ผู้ตัดสินมวยไทยสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรีวรวุฒิ บุญเฉิด,ว่าที่ร้อยตรีหญิงภูรภา ไทยสงวนวรกุล,
ผู้ตัดสินมวยสากลสมัครเล่นดีเด่น ชาย,หญิง ได้แก่ นายบวร บุญยงค์,นางสาวทัศนียา บูรณโกศล,
สื่อมวลชนดีเด่น ได้แก่ นายเกษม ดรงค์ชลธิศ (เกษม เดินสาย น.ส.พ.แชมป์),
ปูชนียบุคคลกีฬามวยดีเด่น ได้แก่ นายณรงค์ สุมะโน,พลเอกสุชาติ แดงประไพ,
ผู้ทรงคุณค่ากีฬามวยดีเด่น สาขาการอนุรักษ์และเผยแพร่กีฬามวย ได้แก่ รศ.ดร.อนันต์ เมฆสวรรค์,นายสุดใจ ปุ่มประโคน (เกียรติหมู่ 9),ร้อยตรีนิธิโรจน์ บัวศรีธรานนท์,
ผู้ทรงคุณค่ากีฬามวยดีเด่น สาขาผู้ทรงคุณูปการต่อวงการกีฬามวย ได้แก่ พันเอก (พิเศษ) วริทธิ์ ปานสุวรรณ,นายชาตรี ศิษย์ยอดธง,นายเธียรชัย พิสิฐวุฒินันท์,
ผู้เผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างประเทศดีเด่น ได้แก่ นายธรรมนิยม ถาวร (ไพโรจน์น้อย ส.สยามชัย),นายณัฐพล นาคสินธุ์ (เค ลูกพระบาท),
ผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น บุคคล ได้แก่ นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),นายนริส สิงห์วังชา ประธานกองทุนสิงห์วังชาเพื่อแชมป์โลก ประธานกองทุนสิงห์วังชาเพื่ออดีตนักมวย,
ผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น องค์กรภาครัฐ ได้แก่ กรมพลศึกษา,กองทับบก,
มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยดีเด่น องค์กรเอกชนได้แก่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน),บริษัท ท็อปคิงส์ บ็อกซิ่ง จำกัด
ทั้งนี้ ภายในงานมีการแสดงศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวหรือที่เรียกกันว่า “มวยคาดเชือกหรือมวยโบราณ” ที่ใช้ “นวอาวุธ” ในการออกอาวุธ เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ), มวยโคราช (ภาคอีสาน), มวยไชยา (ภาคใต้)มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) และ Fashion Show Muaythai ที่ผสมผสานกีฬาที่ได้รับความนิยมมากจนขึ้นแท่น Soft Power ของไทย ถือเป็นวัฒนธรรมที่มีศักยภาพหนึ่งใน 5F ที่ประกอบไปด้วยอาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย(Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fight)และเทศกาลประเพณีไทย (Festival) ได้อย่างลงตัว